วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อินเทอร์เน็ต

  1.  อินเทอร์เน็ตหมายถึงอะไร



อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้. อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย, องค์กร หรือเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=kawaiicas&date=09-07-2009&group=2&gblog=10


2.  เว็บเพจ  คืออะไร


เว็บเพจ คือ หน้าไฟล์เว็บไซต์หน้าต่างๆ จะมีเนื้อหา ภาพ เสียง และองค์ประกอบอื่นๆ ที่สามารถสร้างขึ้นมาได้ เปรียบเสมือนหนังสือเล่มหนึ่ง ที่สามารถเปิดอ่านได้หลายๆ หน้า เว็บเพจแต่ละหน้าจะถูกระบุเชื่อมโยงด้วยที่อยู่ของเว็บเพจที่เรียกว่า Url (Uniform Resource Locator) และในเว็บเพจยังมีจุดเชื่อมโยง (Links) หรือ ไฮเปอร์ลิงค์ (Hyperlink) ที่เป็นข้อความ หรือภาพที่ให้คลิกเม้าส์เพื่อเชื่อมโยงไปยังที่อยู่ของเว็บเพจอื่นๆ โดยการระบุด้วย Url นั่นเอง ตัวอย่าง Url ของเว็บไซต์
http://www.faodoo.com/modules.php?name=Web_Board&file=view&No=19


3. เว็บไซต์  คืออะไร


• เว็บไซต์ (website, web site, หรือ Web site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chanthira&month=01-2008&date=17&group=1&gblog=30


4. โฮมเพจ  คืออะไร


โฮมเพจ คือ หน้าแรกของเว็บไซต์ เปรียบเสมือนหน้าบ้านของเรานั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น หากท่านเข้าเว็บไซต์ด้วยชื่อwww.faodoo.com ท่านก็จะเห็นหน้าแรก หรือ โฮมเพจ ทันที ซึ่งจะประกอบไปด้วยรายละเอียดโดยรวมเกี่ยวกับเว็บไซต์นั้นๆ และไฟล์ที่ใช้แสดงหน้าโฮมเพจ โดยปกติจะตั้งชื่อเป็น index.html
http://www.faodoo.com/modules.php?name=Web_Board&file=view&No=19


5.  www. ย่อมาจากคำว่าอะไร  หมายถึงอะไร

WWW ย่อมาจาก Wold Wide Web คือ เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก เรามักเรียกย่อๆกันว่า เว็บ คือรูปแบบหนึ่งของระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายข่าวสาร ใช้ในการค้นหาข้อมูลข่าวสารบน Internet จากแหล่งข้อมูลหนึ่ง ไปยังแหล่ง ข้อมูลที่อยู่ห่างไกล ให้มีความง่ายต่อการใช้งานมากที่สุด   WWW จะแสดงผลอยู่ในรูปแบบของเอกสารที่เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hyper Text) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่รวบรวมข่าวสารข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจายในที่ต่าง ๆ ทั่วโลกให้สามารถนำมาใช้งานได้เสมือนอยู่ในที่เดียวกัน  โดยใช้เว็บเบราเซอร์ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการดู หรืออ่านข้อมูลเหล่านั้น เว็บเบราวเซอร์ที่นิยมใช้ เช่น IE Microsoft Internet Explorer , Firefox , google chrome เป็นต้น 

http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-


 6.  Web browser  หมายถึงอะไร


web browser หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML)ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนสื่อในการติดต่อกับเครือข่าย หรือ เน็ตเวิร์คขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประโยชน์ของ Web Browser
สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน 

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=magalonee&month=02-2008&date=02&group=2&gblog=3




7    7.  IP Address  คืออะไร
       
 Ip address   คือ เลขรหัสประจำคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดและมีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด ยกตัวอย่างเช่น 192.168.1.1 เป็นต้นหรือนิยมเรียกสั้นๆว่า IP  ซึ่งตัวเลข  IP แต่ละเครื่องจะไม่ซ้ำกัน  ดังนั้นจึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ

  1. Network Address
  2. Computer Address                                                            http://www.howto108.com/ip-address-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD.htm

     8.  IP Address  ต่างกับ Domain name อย่างไร

    ชื่อโดเมน (Domain Name)
     ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม ( domain name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมลแอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้งเราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้



    โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป
    อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-"  คั่นด้วย "."  โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่ A - Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลายๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้ 
    ความแตกต่างระหว่าง Domain Name URL และ Subdomain
                    ยูอาร์แอล: http://www.example.com/
                    โดเมนเนม: example.com
                    ซับโดเมน : subdomain.example.com
     การจดทะเบียนชื่อโดเมน 
      แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
  •     การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ
  •     การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ
    การจดทะเบียนโดเมนต่างประเทศ
  1. .   com ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป รวมทั้งเว็บไซต์ส่วนตัว และมีบางครั้งนำไปใช้ทำเว็บไซต์ (web site) ประเภทอื่นๆ ด้วย
  2. .   net ใช้ทำเว็บไซต์เกี่ยวกับระบบเน็ตเวิร์ค (network) ของคอมพิวเตอร์ หรือเว็บไซต์บริการอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งก็นำไปใช้ด้านอื่นด้วย
  3.    .org ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ บางครั้งก็มีการจดทะเบียนนำไปใช้กับเว็บไซต์ประเภทอื่นด้วย
    การจดทะเบียนโดเมนภายในประเทศ
  1. .  co.th ใช้ทำเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้านโดยทั่วไป
  2. .  or.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการ และชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อขององกร หรือตัวย่อของชื่อองค์กรนั้นๆ ต้องใช้สำเนาเอกสารทางราชการเป็นหลักฐานการจดทะเบียน
  3. .   ac.th ใช้ทำเว็บไซต์ของสถานศึกษาต่างๆ ชื่อของโดเมนที่จดทะเบียนต้องเป็นชื่อของสถานศึกษานั้นๆ หรือชื่อย่อของชื่อสถานศึกษา ใช้สำเนาเอกสารการขออนุญาตก่อตั้งสถานศึกษาเป็นหลักฐาน
  4. .   go.th ใช้ทำเว็บไซต์ของส่วนราชการของประเทศไทย โดยปกติจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่
  5.      .in.th ใช้ทำเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดาโดยทั่วไป ชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้นโยบายชื่อโดเมน ของ THNIC การจดโดเมนนี้ ใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาใบขับขี่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน
    หลักที่ใช้ในการตั้งชื่อโดเมน 
  1.     ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
  2.     สามารถใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลข หรือเครื่องหมายขีด (-) ได้
  3.    ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ใช้ตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้
  4.    ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อ domain
  5.    ห้ามเว้นวรรคในชื่อโดเมน
                เว็บไซต์ปกติโดยทั่วไป จะมีทั้งแบบจดทะเบียนและไม่จดทะเบียน ที่แบบไม่จดทะเบียนนั้น ก็อาจจะได้แก่ เว็บไซต์ที่ฝากไว้ตามเซิร์ฟเวอร์ฟรีต่างๆ อย่างเช่น geocities.com, hypermart.net เป็นต้น ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้ เราสามารถสร้างขึ้น และนำไปอัพโหลดได้ทันที โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด และอีกประเภทหนึ่ง คือ แบบจดทะเบียน นั่นคือคุณต้องทำการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์ของคุณ ให้เป็น .com, .net, .org และอื่นๆ แล้วแต่ประเภทของเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งหากคุณเป็นเว็บไซต์ประเภทส่วนบุคคล หรือการค้า ก็เป็น.com และถ้าหากคุณเป็นบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับเครือข่าย ก็อาจจะใช้.net และถ้าหากเป็นประเภท องค์กร ก็จะใช้.org บางครั้ง คุณอาจจะเห็นเป็น .co.th นั่นก็หมายความว่า เป็นเว็บไซต์ประเภทการค้า ซึ่งจดทะเบียนภายในประเทศไทย .ac.th ก็หมายความว่า เป็นเว็บไซต์ของสถานศึกษาที่จดทะเบียนในประเทศไทย จะเห็นได้ว่า ถ้าลงท้ายด้วย.th .uk .jp ฯลฯ แสดงว่าเป็นเว็บไซต์ที่จดทะเบียนในประเทศนั้นๆ ส่วนที่ไม่มีชื่อประเทศต่อท้าย ก็จะจดที่ประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งหมด
       ตัวอย่างเว็ปไซต์ที่ใช้ในการจดโดเมนเนม
    1. Web ที่ให้บริการจด domain เป็นหลัก (ให้บริการจด dot com นั่นเอง)
  1.     NetworkSolutions.com
  2.     Register.com
  3.    SiamDomain.com
  4.    DomainAtCost.com
  5.    NameZero.com
    2. Web ที่ให้บริการพื้นที่สร้างเว็บ (แต่ไม่รับจด dotcom โดยตรง)
  1.    se-ed.net  
  2.    Thai.net 
  3.    Geocities.com  
  4.    Nbci.com  
  5.    Hypermart.net  
     3. Web ที่ให้บริการจด domain พร้อม พื้นที่สร้างเว็บ
  1.     Thcity.com
  2.     topsiam.com 
  3.     thailandhosting.net
  4.    siamsavehost.com

     4. ISP (Co-location หรือ Dedicate server)
    ผู้ให้บริการ internet ของไทย (ISP - Internet Service Provider)
ISP หลายแห่งรับ web hosting ด้วยนะครับ บางแห่งครบวงจรเลยครับ ทำทุกอย่าง เพื่อบริการที่ดีที่สุด
  1.    บริษัท เคเอสซี คอมเอร์เชียล อินเทอร์เน็ต ในกลุ่มบริษัทเคเอสซี KSC
  2.    บริษัท อินเทอร์ประเทศไทย รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมINET
  3.    บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชัน ในเครือล็อกซ์เล่ย์ LOXINFO
  4.    บริษัท อินโฟแอคเซส ในเครือวัฎจักร INFONEWS
  5.    บริษัท สามารถอินโฟเน็ต ในกลุ่มบริษัทสามารถ SAMART Cybernet
  6.    บริษัท เอ-เน็ต จำกัด ในเครือนิว คอร์ปอเรชัน A-Net Internet
  7.    บริษัท เวิลด์เน็ต แอนด์ เซอร์วิสเซส ในเครือยูคอม APRICOT
  8.    บริษัท ไอเน็ต ประเทศไทย Asiaaccess
  9.    บริษัท ไอเดีย เน็ต Idea net
  10.    บริษัท ดาต้าลายไทย ในเครือดาต้าแมท Line thai
  11.    บริษัท เอเชีย อินโฟเน็ต ในเครือเทเลคอมเอเชีย Asia net
  12.    บริษัท ซี.เอส. คอมมิวนิเคชัน ในกลุ่มชินวัตร CS interne                              IP Addres                                                                       เลขที่อยู่ไอพี หรือชื่ออื่นเช่น ที่อยู่ไอพี, หมายเลขไอพี, เลขไอพี, ไอพีแอดเดรส คือหมายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต (IP) คล้ายกับหมายเลขโทรศัพท์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเราท์เตอร์ เครื่องแฟกซ์ จะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสอง จำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบเลขฐานสิบ จึงมักแสดงผลโดยการใช้เลขฐานสิบ จำนวน 4 ชุด ซึ่งแสดงถึงหมายเลขเฉพาะของเครื่องนั้น สำหรับการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายแลน แวนหรือ อินเทอร์เน็ต โดยหมายเลขไอพีมีไว้เพื่อให้ผู้ส่งรู้ว่าเครื่องของผู้รับคือใคร และผู้รับสามารถรู้ได้ว่าผู้ส่งคือใคร
             การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครื่อง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
  1.     Network Address
  2.    Computer Address

            ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับไอพีแอดเดรส อย่างน้อย พีซีที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ตต้องมีการกำหนดไอพีแอดเดรส
             คำว่าไอพีแอดเดรส จึงหมายถึงเลขหรือรหัสที่บ่งบอก ตำแหน่งของเครื่องที่ต่ออยู่บน อินเทอร์เน็ต เช่นเครื่อง nontri.ku.ac.th เป็นเมล์ เซิร์ฟเวอร์และคอมมูนิเคชันเซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัย มีหมายเลขไอพี 158.108.2.71
             ตัวเลขรหัสไอพีแอดเดรสจึงเสมือนเป็นรหัสประจำตัวของเครื่องที่ใช้ ตั้งแต่พีซี ของผู้ใช้จนถึงเซิร์ฟเวอร์ให้บริการอยู่ทั่วโลก ทุกเครื่องต้องมีรหัสไอพีแอดเดรสและต้องไม่ซ้ำกันเลยทั่วโลก
            ไอพีแอดเดรสที่ใช้กันอยู่นี้เป็น ตัวเลขไบนารีขนาด 32 บิตหรือ 4 ไบต์

      



      


















































































































       9.  โพรโทคอล  หมายถึงอะไร 
     
     โพรโทคอล หรือ โปรโตคอล (communications protocol) หรือชื่อไทยว่า เกณฑ์วิธีการสื่อสาร หรือ เกณฑ์วิธีข่ายงาน 
     คือข้อกำหนดซึ่งประกอบด้วยกฎต่าง ๆ สำหรับรูปแบบการสื่อสารเฉพาะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย ทำงานได้ด้วยกันทั้งระบบ คล้ายกับมนุษย์สามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารถึงกันได้ 
         
     10.   โมเด็ม คืออะไร
      
    โมเด็ม (Modem)

เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร และรับส่งข้อมูลกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่อง โอยอาศัยตัวกลางจำพวกสายโทรศัพท์และสาย Fiber Optic ในการส่งผ่านข้อมูล หลักการทำงานโดยคร่าวของโมเด็มก็คือ เปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอลให้เป็นสัญญาณเสียงเพื่อให้สามารถส่งผ่านไปตามสายโทรศัพท์ได้ และในทางกลับกันก็รับเอาสัญญาณเสียงที่ถูกส่งผ่านมาตามสายโทรศัพท์จากโมเด็มอีกฟากหนึ่งมาแปลงกลับให้เป็นข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอลแบบเดิม ปัจจุบันโมเด็มที่มีวางขายและใช้งานกันโดยทั่วไป ถ่าแบ่งออกตามเทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลจะแบ่งออกได้ 2 ชนิด

         http://computerdodee.blogspot.com/2009/11/modem.html
      
    11.  HTML  ย่อมาจากคำว่าอะไร  หมายถึงอะไร 
         
     HTML คืออะไร   HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language พัฒนามาจากภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language) โดย นาย Tim Berners - Lee เป็นภาษามาตรฐานที่ใช้พัฒนาเอกสารในรูปแบบของเว็บเพจบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การเรียกใช้เอกสารเหล่านี้ทำได้โดยการใช้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) เช่น Mosaic , Opera , Nescape navigator , Internet Explorer ฯลฯ เรียกดูแฟ้มที่สร้างด้วยภาษา HTML ข้อดีของ HTML คือสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการได้หลากหลายชนิด
       http://61.19.202.164/resource/courseware/html/k01-01.html 
       
                   12. E-mail   ย่อมาจากอะไร   หมายถึงอะไร
      
     อี-เมล์(E-mail) ย่อมาจาก Electronic mail (แปลว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์) หมายถึงการสื่อสารหรือการส่ง
      ข้อความ โน้ต หรือบันทึกออกจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ผ่านไปเข้าเครื่องปลายทาง (Terminal) หรือเข้า
       เครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยส่งผ่านทางระบบเครือข่าย (Network) ผู้ส่งจะต้องมีเลขที่อยู่(E-mail 
       address) ของผู้รับ และผู้รับก็สามารถเปิดคอมพิวเตอร์เรียกข่าวสารนั้นออกมาดูเมื่อใดก็ได้โดยปกติจะไม่มี
      การพิมพ์ข้อความหรือข่าวสารนั้นลงแผ่นกระดาษ นับว่าเป็นการประหยัดกระดาษไปได้ส่วนหนึ่ง
     โดยทั่วไป ถือกันว่าเป็นงานส่วนหนึ่งของสานักงานอัตโนมัติ(Office automation) ปัจจุบันได้รับความนิยม
     เป็นอันมาก E-mail คือ จดหมาย ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บาง
       แห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สาหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Internet) การใช้
      งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม Word จากนั้นก็คลิกคาสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของ
      ผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง
       รูปแบบชื่อ Email Addres
       http://emailcenter1.files.wordpress.com/2010/09/e-mail-e0b8a7e0b887e0b8a8e0b98ce0b888e0b8b1e0b899e0b897e0b8a3e0b98c.pdf
     
   13.  Blog  ย่อมาจากอะไร  หมายถึงอะไร
      
    “Blog” เป็นคำที่เรียกย่อมาจากศัพท์คำว่า Weblog หรือ Web Blog เป็นคำที่ใช้อธิบายลักษณะของการบริหารจัดการกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารหรือสารสนเทศรูปแบบต่างๆ ที่ส่งเข้า (Input)เพื่อการจัดเก็บ (Store) และค้นคืน (Forward) ได้ในระบบเว็ปไซต์เป็นระยะๆ ซึ่งโดยปกติจึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นระบบการปรับปรุงและนำเสนอสาระเนื้อหาต่างๆ ที่ทันต่อเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา การเขียนบันทึกประจำวันส่วนตัว ที่เป็นบันทึกจากประสบการณ์ ความรู้หรือการเล่าเรื่องที่เป็นสาระใดๆ ทั้งที่เป็นประเด็นส่วนตัว ประเด็นด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ แล้วนำเสนอขึ้นเผยแพร่ไว้เป็นองค์ความรู้ หรือนำเสนอเป็นประเด็น แง่คิด คำคมและหรือตั้งเป็นประเด็นให้ผู้อ่านท่านอื่นๆที่สนใจได้เข้ามามีส่วนร่วม อภิปราย แสดงความคิดเห็นหรือให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเขียนร่วม ร่วมเชื่อมโยงอ้างอิงไปใช้ได้ผ่านทางเว็บไซต์ 
        http://wordpressthaiedition.blogspot.com/2012/02/what-is-blog.html
    
      14. ISP หมายถึงอะไร
         

     หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet service provider) คือ บริษัทที่ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการจะเชื่อมโยงลูกค้าเข้ากับเทคโนโนยีรับส่งข้อมูลที่เหมาะสมในการส่งผ่านอุปกรณ์โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น ไดอัล, ดีเอสแอล, เคเบิลโมเด็ม, ไร้สาย หรือการเชื่อมต่อระบบไฮสปีด
  
      15. E-learning  หมายถึงอะไร
      e-Learning คืออะไร


.   คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น

    http://boonin11.blogspot.com/2009/10/e-learning-e-learning-satellite-web.html